ถ้าพูดถึงพาร์ต Reading คงเป็นพาร์ตที่น้อง ๆ ใช้เวลานานที่สุด และไม่อยากทำมากที่สุด เพราะการทำพาร์ต reading ต้องอ่านบาทความแล้วจับใจความ ถึงจะนำมาตอบคำถามได้ แล้วบางครั้งคำถามก็อาจวนกลับไปถามเกี่ยวกับเนื้อหาย่อหน้าแรกใหม่อีก ซึ่งอาจต้องกลับไปอ่านใหม่อีก ทำให้ไม่ใช่แค่เสียเวลา แต่ยังสับสนเนื้อเรื่องของบทความด้วย แน่นอนว่าน้อง ๆ หลายคนเลือกทิ้งพาร์ตนี้ไปเลยด้วยซ้ำ เพราะทำให้เสียเวลาในการทำพาร์ตอื่น
แต่บทความนี้ จะบอกทริคที่ช่วยเปลี่ยนพาร์ต reading จากยากให้เป็นง่าย ทำตามทริคนี้ยังไงก็ทำโจทย์ reading ได้ทุกโจทย์
ตีสนิทกับ Reading Part
การเริ่มทำความรู้จักกับ reading พี่อยากแนะนำว่า น้อง ๆ ควรรู้ในเรื่องของคำศัพท์ และโครงสร้างประโยคก่อน เพราะการทำพาร์ต reading หากมีคำศัพท์ในคลังเยอะ น้องจะสามารถจับใจความส่วนที่สำคัญของบทความได้ง่ายขึ้น
ส่วนปัญหาของการจำคำศัพท์คือ คำศัพท์มีจำนวนมาก และในหนึ่งคำมีได้หลายความหมาย การจำเฉย ๆ ก็อาจทำให้น้องลืม และสับสนได้ เพราะฉะนั้นการจำคำศัพท์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น memolody หรือการฟังเพลงภาษาอังกฤษ ก็เป็นเทคนิคที่น้อง ๆ สามารถฝึกได้แบบไม่เครียดจนเกินไป
ทำ Reading ด้วยเทคนิค Context Clue
Context clue หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการเดาคำศัพท์ บางทีเราอาจไม่รู้คำศัพท์ไปหมดทุกคำ การเดาคำศัพท์จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้น้องอ่านบทความให้เข้าใจมากขึ้น ซึ่งน้องสามารถสังเกตได้จากข้อมูลหรือรายละเอียดของคำศัพท์เหล่านั้น
Definition / Description Clue
1.1 Clue ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แปลว่า หมายถึง, หมายความว่า, หรือ เรียกว่า ซึงสิ่งที่ตามหลัง Clue ก็คือนิยามนั่นเอง เช่นคำว่า
- V. to be
- Mean
- Refer to
- To be called
- To be known as
- To be regarded as
- To be defined as
Example: ‘I have sweet tooth’ means I like to eat sweet food.
1.2 Clue ต่อมาเรียกว่า Modifier Clue ซึ่งสามารถสังเกตจาก Relative Pronoun / Relative Adverb ซึ่งใช้ขยาย Noun และใช้ขึ้นต้น Relative Clause ดังนี้
- Which
- That
- Who
- Whose
- Whom
- Where
- When
- Why
Example: A fishmonger is someone who sells fish.
Punctuation Clue
การเดาความหมายจากเครื่องหมาายวรรคตอน ตัวอย่างเครื่องหมายต่อไปนี้ก็ช่วยให้เดาคำศัพท์ได้ไม่อยาก เช่น
- เครื่องหมาย comma ( , )
- เครื่องหมาย parentheses ( … )
- เครื่องหมาย hyphen ( – )
- เครื่องหมาย colon ( : )
- เครื่องหมาย semicolon ( ; )
Example: Netsuke, a small figure of ivory, wood, metal, or ceramic, is a form of Japanese art.
Connector Clue
การเดาความหมายจากคำเชื่อม (Connector) เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง สาเหตุ และ ผลลัพธ์ จากสาเหตุนั้นๆ
- ถ้าคำศัพท์ในข้อความเป็นการแสดงความเป็นเหตุ ให้เดาความหมายคำตอบที่บอกผลลัพธ์
Clue ที่ใช้แสดงความเป็นเหตุ
- ถ้าคำศัพท์ในข้อความเป็นการแสดงความเป็นผล ให้เดาความหมายคำตอบที่บอกเหตุ
Clue ที่ใช้แสดงความเป็นผล
Comparison or Contrast Clue
เป็นการบอกความหมายด้วยการแสดงการเปรียบเทียบ และบอกความหมายด้วยการแสดงความขัดแย้ง
- คำที่แสดงการเปรียบเทียบ
- คำที่แสดงความขัดแย้ง
Example
การเดาบริบทของคำศัพท์โดยดูตัวอย่างประกอบที่โจทย์ให้มา
จากตัวอย่างของ context clue ที่ยกมาให้น้อง ๆ ได้อ่าน ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่จะช่วยในเรื่องของการเดาความหมายของคำที่ยาก หรือไม่รู้ความหมาย ซึ่งจะช่วยให้น้องทำพาร์ต reading ได้ง่ายมากขึ้น
ทำ Reading ให้ง่าย ด้วย Strategic Structure
Strategic Structure หรือโครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ การรู้โครงสร้างประโยคจะช่วยให้น้องสามารถเดาคำจากบทความได้ว่าประโยคนี้ทำหน้าที่เป็นอะไร เช่น ทำหน้าที่เป็น Subject (S), Verb (V), Object (O), Indirect Object (IO), Direct Object (DO)
โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษมี 5 แบบ ดังนี้
ประธาน + กริยา
Example: John sleeps.
ประธาน + กริยา + กรรม
Example: The audience enjoyed the movie.
ประธาน + กริยา + กรรมรอง + กรรมตรง
Example: I bought her a gift.
ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็มประธาน
Example: The show was interesting.
ประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็มกรรม
Example: They elected him president.
หากน้อง ๆ จำโครงสร้างประโยคทั้ง 5 แบบนี้ได้ ก็สามารถทำพาร์ต reading ได้อย่างสบาย ๆ
Reading Strategies เทคนิคการอ่าน
Reading Strategies เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้น้องสามารถตอบคำถามได้โดยการอ่านบทความด้วยเวลาที่น้อยที่สุด เพื่อประหยัดเวลาในการทำข้อสอบ
เมื่อน้องรู้คำศัพท์และวิธีเดาคำศัพท์ด้วย Context Clue พร้อมโครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษแล้ว น้องก็สามารถทำพาร์ต Reading ได้อย่างสบาย แต่ถ้าน้องรู้เทคนิคการอ่านบทความด้วย จะยิ่งช่วยให้น้องทำข้อสอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว และประหยัดเวลาทำข้อสอบเพื่อทำในพาร์ตอื่น ๆ ได้ด้วย
Skimming
คือการอ่านเพื่อหา main idea หรือประเด็นหลัก ใจความสำคัญของเรื่อง และอ่านการตีความเพื่อหาความหมายที่ซ่อนอยู่ในบทความนั้น ๆ รวามถึงการหาวัตถุประสงค์หลักของผู้เขียน อาจสังเกตจาก headings, sub-headings, Introduction, ตัวเอียง, ตัวหนา ที่อยู่ในบทความ
Scanning
เป็นวิธีการหาข้อมูลเฉพาะโดยการอ่านอย่างรวดเร็ว เช่น ตัวเลข วันที่ สถานที่ ชื่อคน เป็นต้น สามารถสังเกตได้จาก Reference ว่าอยู่ตรงส่วนไหน หรือ การหาความหมายของคำศัพท์ตามบริบท
ซึ่งทั้งสองวิธีนี้เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่มีพื้นฐานคำศัพท์เยอะ แล้วจะช่วยให้น้อง ๆ ทำอ่านบทความได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น และสิ่งที่น้อง ๆ ไม่ควรลืมคือการฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ ลองฝึกจากโจทย์ที่เป็นพื้นฐานภาษาอังกฤษ แล้วค่อย ๆ ฝึกโจทย์ที่ยากขึ้นเพื่อให้น้องคุ้นชินกับข้อสอบและการทำข้อสอบได้มากขึ้น
คอร์สปรับพื้นฐานอังกฤษ Vocab & Reading ม.ต้น
คอร์สที่จะสอนให้น้องแม่นตั้งแต่พื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นพาร์ต vocab ไปจนถึง พาร์ต reading แจกทุกเทคนิคเพื่อให้ทำข้อสอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว
เริ่มเรียนพร้อมกันวันที่ 4 – 25 ต.ค. 65 (เรียนวันอังคาร)
เวลา 13:00 – 15:00 น.
สอนโดยครูพี่แทน
เรียนที่สยามสแควร์ซอย 10 หรือ Online ผ่าน ZOOM เท่านั้น