ประกาศมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่ดีที่สุด ด้านการเรียนการสอนการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประจำปี 2020 จากสถาบันการจัดอันดับชื่อดังจากประเทศอังกฤษ
ที่มีชื่อว่า Times Higher Education หรือเรามักจะเรียกสั้น ๆ กันว่า THE ซึ่งปีนี้มีมหาวิทยาลัยจากไทยติดอับดับถึง 7 มหาวิทยาลัย จะมีมหาวิทยาลัยไหนบ้าง จะมีมหาวิทยาลัยที่น้องๆ อย่าเข้ากันหรือป่าว มาดูกันเลย

- มหาวิทยาลัยมหิดล
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการเรียนการสอน 17 คณะ 6 วิทยาลัย 9 สถาบัน 3 วิทยาเขต และหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยมีที่ตั้งหลายพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอำนาจเจริญ ฯลฯ สำหรับมหาวิทยาลัยนี้มีคณะแพทย์ 2 คณะ คือ
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งเป็นคณะแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศ เพราะมาจากการเป็นโรงเรียนแพทยากรที่เปิดสอนแพทย์และการพยาบาลภายในโรงพยาบาลศิริราช ปัจจุบันมีอายุกว่า 127 ปี ด้านการเรียนการสอนตามหลักสูตรแพทยศาสตร์ จะใช้เวลาเรียน 6 ปี ซึ่งในปีที่ 1 จะต้องเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยา โดยจะเรียกชั้นนี้ว่าชั้นเตรียมแพทย์ฯ ในปีที่ 2 – 3 เป็นการเรียนพรีคลินิก (Pre-Clinic) คือการเรียนเตรียมความพร้อมในเรื่องทางการแพทย์ต่างๆ แต่ยังไม่ได้ลงหอผู้ป่วยจริง ส่วนในปีที่ 4 – 5 จะเป็นระดับคลินิก (Clinic) ซึ่งนักศึกษาจะได้ลงหอผู้ป่วยจริงหรือที่เรียกว่าการขึ้นวอร์ด เป็นการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติร่วมกับแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์หมอที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด และปีที่ 6 ปีสุดท้ายทางคณะฯ จะเน้นการฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงมากที่สุดเท่าที่ทำได้
- คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จะใช้เวลาเรียน 6 ปี ซึ่งปี 1 จะเรียนวิชาศึกษาทั่วไป ปีที่ 2 และ 3 จะเรียนเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายมนุษย์ในภาวะปกติและเมื่อเป็นโรคต่างๆ โดยบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์พื้นฐาน ปีที่ 4 ถึง 6 จะได้ศึกษาเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาล ได้ร่วมเป็นหนึ่งในทีมดูแลผู้ป่วย ศึกษาอาการและการรักษาโรคผ่านการฝึกทักษะกับอาจารย์แพทย์สาขาต่างๆ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานระดับคณะวิชาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของประเทศไทย ถือกำเนิดจากพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 ซึ่งในปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย 19 คณะวิชา 1 สำนักวิชา ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ และมีหน่วยงานประเภท วิทยาลัย 3 แห่ง บัณฑิตวิทยาลัย 1 แห่ง สถาบัน 14 แห่ง และสถาบันสมทบอีก 2 สถาบันด้วยกัน
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามของประเทศไทยต่อจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังเป็นเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดการเรียนการสอนใน 22 คณะ 2 วิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย และมีสถาบันวิจัย 4 สถาบัน
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น กระทรวงศึกษาธิการ เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะแพทยศาสตร์ลำดับที่ 5 ของประเทศไทย และเป็นลำดับที่ 2 ของส่วนภูมิภาค ต่อจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีสถานปฏิบัติการคือโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดหลักสูตรรวมทั้งสิ้น 330 หลักสูตร แบ่งได้เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก 72 หลักสูตร ปริญญาโท 129 หลักสูตร ปริญญาตรี 105 หลักสูตร และประกาศนียบัตรบัณฑิต 24 หลักสูตร
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 11 ของมหาวิทยาลัย และเป็นสถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ของประเทศ นับเป็นคณะแรกในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นด้วยแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียนแพทย์ใดริเริ่มการเรียนการสอนดังกล่าว ทั้งนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายสถาบันการศึกษาและวิจัยในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN) อีกด้วย และในปัจจุบันจัดการศึกษาครอบคลุมทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประกอบไปด้วย 19 คณะ 4 วิทยาลัย 1 สถาบัน และ 1 สำนักวิชา
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะลำดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัย โดยมีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2515 เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ปัจจุบันเปิดสอนในสายวิชาชีพแพทยศาสตร์ และสายวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา โดยระดับปริญญาตรีได้มีการแบ่งหลักสูตรการเรียนการสอนออกเป็น 4 ปี กับ 6ปี ได้แก่ หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต(6 ปี) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (4ปี) แบ่งย่อยออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิทยศาสตร์การแพทย์, สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์, สาขาวิชากายภาพบำบัด และสาขาวิชารังสีเทคนิค (ต่อเนื่อง) ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตภูเก็ต วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และวิทยาเขตตรัง
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นคณะแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 12 ของประเทศไทย โดยในช่วง 10 ปีแรกได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในการร่วมผลิตแพทย์ตามนโยบายการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค และหลังจากนั้นคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงเริ่มพัฒนาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นโรงพยาบาลหลักในการทำการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์[3][4] โดยมีความร่วมมือระหว่างเครือข่ายศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ทั้ง 5 แห่งในการพัฒนาทางด้านวิชาการและบริการร่วมกัน ซึ่งในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทย โดยมีการเรียนการสอนครอบคลุมครบทุกสาขาวิชาทั้งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทุกระดับการศึกษาทั้งสิ้น 184 หลักสูตร
ขอบคุณข้อมูลจาก www.campus-star.com , www.timeshighereducation.com, https://th.wikipedia.org/





