มาทำความรู้จักกับคณะแพทย์ มข. ว่ามีดีอย่างไร ทำไมใครๆ หลายคนถึงสนใจอยากเรียนต่อที่นี่ และต้องเป็นคณะนี้ที่ได้ยินกันอยู่เสมอ รวมถึงเกณฑ์การรับสมัครของปี 2567 จะต้องใช้คะแนนสอบอะไรบ้างในการยื่นเข้าใช้สำหรับเกณฑ์แพทย์ มข. 2567
ทำความรู้จักกับคณะแพทย์ มข.
ขอแนะนำให้รู้จักกับประวัติความเป็นมาของคณะแพทย์ มข. สายการเรียนที่น้องๆ ให้ความสนใจในการตั้งเป้าหมายเป็นอันดับแรกๆ หรือมักเป็นตัวเลือกหลักของการวางแผนเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยนี้ แพทย์ มข. เป็นคณะที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2511 ซึ่งมีวิทยาเขตหลักๆ คือวิทยาเขตขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งคณะที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการแพทย์อย่างมากในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางด้านการวิจัยค้นคว้าปัญหาด้านสุขภาพของประเทศไทย และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรใหญ่ๆ อยู่เสมอ ทำให้น้องๆ ที่สนใจเข้าเรียนเพื่อมีจุดประสงค์ในการเป็นแพทย์ในสายต่างๆ ให้ความสนใจกับคณะนี้เยอะมาก
จุดเด่นคือเรื่องของการเรียนการสอน เพราะจะเป็นคณะที่มีสาขาศาสตร์การแพทย์ให้เลือกเรียนเกือบทุกแขนง และมีสาขา เวชปฏิบัติทั่วไป และสุขภาพชุมชน มีการเรียนแบบเน้นเห็นจริง ฝึกลงมือปฏิบัติจริง ควบคู่กับภาคทฤษฎี ทำให้มีทั้งความรู้ ความเข้าใจ ผ่านประสบการณ์จากหลักสูตรที่มีการพัฒนาตามยุคสมัยอยู่เสมอ
หลักสูตรของคณะแพทย์มข.
คณะแพทย์ มข. ปัจจุบันนี้มีทั้งหมด 22 หลักสูตร โดยแบ่งเป็นภาควิชาด้านปรีคลินิก 9 สาขา และภาควิชาคลินิก 13 สาขา ใช้ระยะเวลาในการเรียนหลักสูตรของคณะแพทย์ มข. ทั้งหมด 6 ปี แต่ถ้าหากเป็นสายวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น ก็จะเรียนหลักสูตรของแพทยศาสตร์ 6 ปี แล้วต้องเรียนเพิ่มอีก 2 ปี หากเลือกไปยังทางสายรังสีเทคนิค หรือเวชนิทัศน์ จะต้องเรียนหลักสูตรของด้านวิทยาศาสตร์บัณฑิตเพิ่มเติมต่ออีก 2 ปี รวมเป็น 8 ปีของสายนี้ ส่วนภาควิชาที่แยกเป็นด้านปรีดีคลินิก และภาควิชาคลินิก สามารถแยกย่อยสาขาเรียนได้ ดังนี้
ปรีคลินิก (Pre-Clinic)
ปรีคลินิก (Pre – Clinic) ของคณะแพทยศาสตร์ มข. จะแบ่งแขนงสายเรียนได้ทั้งหมด 9 สาขา ดังนี้
- กายวิภาคศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต ร่างกาย การทำงานของระบบส่วนต่างๆ เพื่อให้รู้ถึงการทำงานที่ประสานกันในแต่ละส่วนประสาทของร่างกาย
- จุลชีววิทยา เรียนเกี่ยวกับการวิจัยศึกษาจุลินทรีย์ หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทั้งกลุ่มแบคทีเรีย โปรโตซัว และอื่นๆ ซึ่งจะเน้นทางสาย Lab เป็นหลัก
- ชีวเคมี เรียนเกี่ยวกับการประยุกต์สายชีวะ และเคมีเข้ามารวมกัน ทำให้ได้เรียนรู้ถึงการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิตประเภทต่างๆ สามารถอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพได้ พร้อมการประยุกต์ใช้ต่อยอดความรู้ศาสตร์ได้หลายแขนง
- ปรสิตวิทยา เรียนเกี่ยวกับการศึกษาถึงลักษณะการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ที่มีฝ่ายได้ประโยชน์ (ฝ่ายปรสิต) และฝ่ายที่เสียผลประโยชน์ (ฝ่ายโฮสท์) เพื่อตรวจสอบว่า การแพร่กระจายของปรสิตแต่ละชนิดต้องควบคุม หรือจัดการอย่างไรในเชิงการแพทย์
- พยาธิวิทยา เรียนเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ และกลไกการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีผลกับโรคนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเฉพาะ หรือโรคทั่วไป แค่มีการเจ็บป่วยในเชิงพยาธิสภาพก็จะได้ทราบต้นสายปลายเหตุ
- เภสัชวิทยา เรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติ และฤทธิ์ของตัวยาแต่ละประเภท และการส่งผลต่อร่างกายในด้านต่างๆ
- เวชศาสตร์ชุมชน เวชศาสตร์ครอบครัว และอาชีวเวชศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับการออกปฏิบัติหน้าที่ด้านสาธารณสุขเพื่อชุมชน ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพ พร้อมแนวทางการแก้ไขจัดการอย่างถูกสุขลักษณะ และตัดต้นเหตุของการเกิดโรคต่างๆ
- สรีรวิทยา เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานหลักของสายการแพทย์โดยรวม มีความรู้ตั้งแต่ระดับโมเลกุลไปจนถึงระบบการทำงานของร่างกายทั้งหมด
- เวชศาสตร์เขตร้อน เรียนเกี่ยวกับโรคที่มักเกิดขึ้นในโซนเขตร้อน รวมถึงประเทศไทยด้วย เช่น โรคพยาธิต่างๆ ที่ปนเปื้อน โรคมาลาเรีย โรคที่ได้รับเชื้อมาจากแบคทีเรีย หรือไวรัสจากเขตร้อนต่างๆ
คลินิก (Clinic)
คลินิก (Clinic) ของคณะแพทยศาสตร์ มข. จะแบ่งแขนงสายเรียนได้ทั้งหมด 13 สาขา ดังนี้
- กุมารเวชศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับโรค และความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ป่วยเด็ก
- จักษุวิทยา เรียนเกี่ยวกับระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับสายตา และโรคที่เกี่ยวกับการมองเห็นทั้งหมด
- จิตเวชศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาสภาพจิตใจของผู้ป่วย และการบำบัดฟื้นฟูผู้ที่มีปัญหาในการใช้ชีวิตด้านต่างๆ
- นิติเวชศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมสำหรับสายการแพทย์ เพื่อสืบทราบไปถึงลักษณะการเสียชีวิตของแต่ละเคส
- รังสีวิทยา เรียนเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคผ่านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และผล Lab ของเครื่องมือที่ทันสมัยใหม่
- วิสัญญีวิทยา เรียนเกี่ยวกับความรู้เฉพาะทางในการเลือกวิธีสำหรับบำบัดฟื้นฟูความเจ็บปวดของผู้ป่วย และประคองอายุขัยของชีวิต
- เวชศาสตร์ฟื้นฟู เรียนเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านต่างๆ ของร่างกาย และระบบประสาทของผู้ป่วยที่มีการเสื่อมถอย ให้กลับมามีอาการที่ดีขึ้น
- ศัลยศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับการทำหัตถการ รวมถึงเครื่องมือเกี่ยวกับการผ่าตัด หรือรักษาความผิดปกติทางรูปลักษณ์ของผู้ป่วย
- สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา เรียนเกี่ยวกับระบบการทำงานของร่างกาย ทั้งกายวิภาค และภายในของสตรีทุกช่วงวัย และทุกการเปลี่ยนแปลงของร่างกายผู้หญิง
- โสต ศอ นาสิกวิทยา เรียนเกี่ยวกับการวินิจฉัย และรักษาความผิดปกติของโสตประสาทการรับรู้ ได้แก่ หู คอ จมูก และอาการเกี่ยวกับศีรษะ
- ออร์โธปิดิกส์ เรียนเกี่ยวกับภาวะของการบาดเจ็บทางข้อ และกระดูกแบบองค์รวมทุกด้าน
- อายุรศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับการฟื้นฟู การบำบัด การรักษาผู้ป่วยผ่านการใช้ยา การช่วยเหลือรักษาโรคแบบไม่ต้องผ่านการเข้าผ่าตัด
- เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เรียนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยในสภาวะฉุกเฉินทุกด้าน และเรียนรู้เกี่ยวกับโรคเฉพาะทาง เพื่อการต่อยอดไปได้หลายแขนง
ข้อดีของคณะแพทย์ มข.
คณะแพทย์ในไทยถือว่าเป็นสาขาวิชาที่มีการแข่งขันสูงมาโดยตลอด ทำให้มีมหาวิทยาลัยหลายที่ให้การรองรับมากขึ้น แต่ข้อดีของการเลือกเรียนแพทย์ มข. ที่แตกต่างจากคณะแพทยศาสตร์ในที่อื่นๆ มีดังนี้
มาตรฐานของหลักสูตรดี
คณะแพทย์มข. มีมาตรฐานของหลักสูตรที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรทางการแพทย์จากต่างประเทศ ทำให้มีเครื่องมือทันสมัย และหลักสูตรที่มีการปรับปรุงให้ตามทันยุคสมัยอยู่เสมอ โดยผู้เรียนจะได้เข้าใจตั้งแต่การเข้าเรียนของภาคทฤษฎี จนถึงภาคปฏิบัติโดยไม่ต้องรอจนถึงชั้นปีสูงๆ จะได้รับการเรียนการสอนที่ดูแลโดยอาจารย์แพทย์ผู้มากประสบการณ์ และเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในทุกแขนง และทุกศาสตร์ในไทยอย่างแน่นอน อีกทั้งคณะแพทย์ มข. ได้รับชื่อเสียงว่า เป็นศูนย์กลางความร่วมมือในด้านการค้นคว้า และการวิจัยปัญหาด้านสุขภาพของประเทศไทยอีกด้วย ไม่ว่าจะเลือกเรียนวิทยาเขตไหน ก็จะได้รับความรู้อัดแน่นตรงศาสตร์เหมือนกันแน่นอน
ค่าเทอมไม่แพง
หากใครที่กังวลถึงค่าใช้จ่ายในการเรียนคณะแพทย์ มข. ต้องบอกเลยว่าเป็นเรตอัตราค่าเทอมที่สามารถเอื้อมถึงได้ สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรได้ง่ายมากกว่าที่อื่นๆ อย่างแน่นอน ซึ่งข้อมูลอัปเดตค่าเทอมแพทย์ มข. ในส่วนของค่าเทอม และค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรของแพทย์ มข. 67 จะมีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรรวมทั้งหมด 216,000 บาท ซึ่งแบ่งค่าเทอมออกเป็น 18,000 บาทต่อเทอมเพียงเท่านั้น
เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่
ไม่เพียงแค่คณะแพทยศาสตร์ของ มข. เท่านั้นที่มีความน่าสนใจ และมีการแข่งขันสูงเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย แต่ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นเองก็เป็นมหาลัยขนาดใหญ่ ซึ่งมีจำนวนนักศึกษามากกว่า 34,382 คน และมีคณะทั้งหมดถึง 21 คณะ พร้อมกับพื้นที่กิจกรรมส่วนกลางที่พร้อมสนับสนุนการศึกษา และความสนใจของนักศึกษาทุกด้าน มีบริการหอสมุดให้ได้อ่านหนังสือ มีพื้นที่ให้ได้พักผ่อน หรือทำกิจกรรมที่ชอบกลางแจ้งได้ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่ทำการไปรษณีย์ ศูนย์บริการ สหกรณ์ และร้านค้าต่างๆ พร้อมทั้งพื้นที่อำนวยความสะดวกอีกมากมาย
อยู่ในจังหวัดที่ค่าครองชีพถูก
อีกหนึ่งข้อดีของการเลือกอยู่จังหวัดขอนแก่น คือเรื่องของค่าครองชีพที่ถูกมาก โดยขอนแก่นเป็นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ซึ่งมีระบบสาธารณะต่างๆ ค่อนข้างสะดวก และพื้นที่อยู่อาศัยมีความสงบ ค่าใช้จ่ายน้อย จึงพบว่าทั้งค่าหอพัก ค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่สูงเลยเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ และประหยัดหลายเท่าแม้จะแบ่งไปใช้จ่ายเพื่อความบันเทิงอื่นๆ ก็ตาม รับรองว่าปรับตัวได้ง่ายแน่นอน!
อยากสอบเข้าคณะแพทย์ มข. ต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง
เกณฑ์แพทย์ มข. 67 สำหรับเข้าสมัคร จะแบ่งรับบุคคลเป็น 3 รอบ โดยมีเกณฑ์ที่ต่างกัน ดังนี้
รอบที่ 1 การรับจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
รอบแรกจะมีรับทั้งหมด 2 โครงการหลัก คือ MDX กับ MD02 โดยสามารถติดตามข่าวสารได้ทางเว็บไซต์ KKU Admissions ซึ่งทั้งสองโครงการมีคุณสมบัติเฉพาะที่เหมือนกัน 2 ข้อ ดังนี้
- มีคะแนนผลสอบวัดความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษอันเป็นมาตรฐานการสอบหลัก ตั้งแต่ระดับช่วงคะแนนที่ 1 ขึ้นไป ซึ่งประกอบด้วย TOELF ITP ตั้งแต่ 477 – 510 คะแนน TOELF computer based ตั้งแต่ 153 – 180 คะแนน TOELF IBT ตั้งแต่ 53 – 64 คะแนน Academic IELTS ตั้งแต่ 5.0 คะแนน CU-TEP ตั้งแต่ 68 – 74 คะแนน และ KEPT ตั้งแต่ 62 – 70 คะแนน
- ใช้คะแนนของผลสอบ BMAT (Biomedical admissions test) Part 1 และ part 2 รวมกันไม่ต่ำกว่า 8.0 ส่วน Part 3 ไม่มีกำหนดขั้นต่ำ ในส่วนนี้ผู้เข้าสอบสามารถใช้คะแนนสอบย้อนหลังได้ไม่เกิน 1 ปี เช่น ยื่นสมัครปี 2567 ก็สามารถใช้คะแนนสอบของปี 2566 ได้
1. โครงการผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิชาการและภาษาอังกฤษจากทั่วประเทศ (MDX)
โครงการ MDX จะรับผู้สมัครทั้งหมด 44 คน โดยแบ่งย่อยคุณสมบัติของโครงการเล็กเพิ่มเติมได้ ดังนี้
- โครงการ MDX-1 สำหรับผู้มีความรู้ ความสามารถ ทางด้านภาษาอังกฤษ และวิชาการ รับทั้งหมด 29 คน เพียงแค่เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย และกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า หรือจบการศึกษาระดับชั้น ม.6 มาแล้วไม่เกิน 6 เดือน สามารถเข้ายื่นสมัครได้เลย
- โครงการ MDX-MHA สำหรับผู้มีความรู้ ความสามารถ ทางด้านภาษาอังกฤษ และวิชาการ เพื่อ 2 ปริญญา สาขาวิชาการบริหารโรงพยาบาล รับจำนวน 10 คน โดยผู้สมัครต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า และผ่านการอบรมหลักสูตรการบริหารโรงพยาบาลในขั้นแนะนำของโครงการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- โครงการ MDX-MDH สำหรับผู้มีความรู้ ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ และวิชาการ เพื่อ 2 ปริญญา สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล และสารสนเทศสุขภาพ รับจำนวน 5 คน โดยผู้สมัครต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า และผ่านการอบรมหลักสูตรวิทยาการข้อมูล และสารสนเทศสุขภาพในขั้นแนะนำของโครงการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. โครงการผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษทางวิชาการและภาษาอังกฤษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (MD02)
โครงการ MD02 จะรับผู้สมัครทั้งหมด 92 คน โดยแบ่งย่อยคุณสมบัติของโครงการเล็กเพิ่มเติมได้ ดังนี้
- โครงการ MD02-1 สำหรับผู้มีความรู้ ความสามารถ ทางด้านภาษาอังกฤษ และวิชาการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รับผู้สมัครทั้งหมด 67 คน โดยผู้สมัครต้องกำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 ของโรงเรียนใดก็ได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- โครงการ MD02-MHA สำหรับมีความรู้ ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ และวิชาการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อ 2 ปริญญา สาขาวิชาการบริหารโรงพยาบาล รับจำนวน 20 คน โดยผู้สมัครต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าในโรงเรียนใดก็ได้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผ่านการอบรมหลักสูตรการบริหารโรงพยาบาลในขั้นแนะนำของโครงการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- โครงการ MD02-MDX สำหรับผู้มีความรู้ ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษ และวิชาการ เพื่อ 2 ปริญญา สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล และสารสนเทศสุขภาพ รับจำนวน 5 คน โดยผู้สมัครต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าในโรงเรียนใดก็ได้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผ่านการอบรมหลักสูตรวิทยาการข้อมูล และสารสนเทศสุขภาพในขั้นแนะนำของโครงการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รอบที่ 2 การรับจากโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การสมัครแพทย์ มข. 67 รอบ 2 มีรับทั้งหมด 3 โครงการหลัก จำนวนทั้งหมด 132 คน โดยสามารถติดตามข่าวสารได้ทางเว็บไซต์ KKU Admissions
1. โครงการโควตาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (001)
จำนวนที่เปิดรับทั้งหมด 20 คน โดยมีคุณสมบัติของผู้สมัคร ดังนี้
- ผู้สมัครต้องเป็นนักเรียนที่มีสัญชาติไทย
- ผู้สมัครต้องกำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.6 ของโรงเรียนใดก็ได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- มีผลการสอบ NETSAT
2. โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทกลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน (CPIRD)
จำนวนรับทั้งหมดขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาตามความเหมาะสม และคุณสมบัติของผู้สมัครแต่ละคน โดยต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ผู้สมัครต้องกำลังเรียนชั้น ม.6 ภายในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เลย นครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู และหนองคาย
- ผู้สมัคร และผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมีภูมิลำเนาอยู่ใน 12 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เลย นครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู และหนองคายตามทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- ผู้สมัครต้องมีผลการสอบ NETSAT
3. โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทกลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive)
จำนวนรับทั้งหมดขึ้นอยู่กับเกณฑ์การพิจารณาตามความเหมาะสม และคุณสมบัติของผู้สมัครแต่ละท่าน โดยต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ผู้สมัครต้องกำลังเรียนชั้น ม.6 ภายในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เลย นครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู และหนองคาย
- ผู้สมัคร และผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมีภูมิลำเนาอยู่นอกพื้นที่อำเภอเมือง 12 จังหวัด ได้แก่ บึงกาฬ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น ร้อยเอ็ด เลย นครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู และหนองคายตามทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้นจังหวัดบึงกาฬ และหนองบัวลำภูที่สามารถเป็นผู้อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองได้
- ผู้สมัครต้องมีผลการสอบ NETSAT
รอบที่ 3 การรับตรงทั่วประเทศ
โครงการสมัครเข้าสอบรอบ 3 เป็นโครงการรอบรับตรงจากผู้สมัครทั่วประเทศ รับจำนวนทั้งหมด 20 คน สามารถติดตามการรับสมัครรอบ 3 ได้ทาง ก ส พ ท โดยคุณสมบัติของรอบรับตรงทั่วประเทศ มีดังนี้
- มีคะแนน TPAT1
- มีคะแนน A-Level (ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ประยุกต์1)
ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวกับรอบรับตรงต้องติดตามข่าวสารประกาศใหม่ๆ อยู่เสมอ พร้อมการเตรียมตัว และเตรียมเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วน รวมถึงเกณฑ์คะแนนแพทย์ มข. ที่ควรรู้ว่าต้องใช้คะแนนอะไรบ้างในแต่ละรอบ แต่ละช่วงเวลาการสมัคร สำหรับหลักสูตรแพทย์มี 2 ปริญญา โดยสามารถติดตามข่าวสารได้ทาง KKUMEDX
สรุป
แพทย์ มข. เป็นคณะ และมหาลัยที่หลายคนอยากเข้ามากอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เพราะมีหลักสูตรการเรียนที่ทันสมัย ได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติจริง โดยไม่ต้องรอจบการศึกษาชั้นปีสูงๆ และยังเป็นคณะที่มีการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรใหม่ๆ ตามยุคสมัยอยู่เสมอ อีกทั้งยังเป็นคณะที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งเพื่อการวิจัยค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับด้านสุขภาพในประเทศไทยอีกด้วย มีหลักสูตรแยกย่อยเป็น 2 แขนงอย่างชัดเจน ได้แก่ ปรีคลินิก และหลักสูตรคลินิก ที่สามารถเลือกเรียนได้ตามแผนอนาคตที่ต้องการทำงาน ส่วนการสอบเข้ามีทั้งหมดถึง 3 รอบ สามารถวางแผนเพื่อเลือกรอบการสมัครที่เหมาะกับคุณสมบัติของตัวเองมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครต้องมีการเตรียมตัวก่อนสอบอย่างเต็มที่ และติดตามข่าวสารอยู่เสมอ โดยสามารถเตรียมตัวก่อนสอบ พร้อมดูรายละเอียดทุกอย่างก่อน รวมถึงการเข้าลงทะเบียนติวเข้ม หรือวางแผนเส้นทางการสมัครแพทย์ มข. ได้ที่ Enconcept กับคอร์ส TCAS ที่มีตั้งแต่ปรับพื้นฐาน ไปจนถึงสรุปเนื้อหาก่อนถึงโค้งสุดท้าย